ข่าวการศึกษา

รมช.ศธ.หารือแนวทางการทำงานกับ3หน่วยงานในกำกับดูแล


     นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมรับฟังและหารือแนวทางการทำงานร่วมกับผู้บริหาร 3 หน่วยงาน ซึ่ง รมช.ศธ.รับผิดชอบกำกับดูแล คือ สำนักงาน กศน., สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) โดยมีนายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.), นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานดังกล่าวเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า สำนักงาน กศน. มีภารกิจสำคัญ คือ การส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการจัดการศึกษา กศน. ภาคีเครือข่าย การใช้ประโยชน์จากเครือข่าย ICT ด้วยสถานีโทรทัศน์–วิทยุเพื่อการศึกษา (ETV) วิทยุชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น มีบุคลากรทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 18,335 คน ได้รับงบประมาณในปี 2562 จำนวน 12,397,731,700 บาท มีผลการดำเนินงานโครงการสำคัญ ได้แก่ •โครงการแก้ไขปัญหาประชากรวัยเรียนนอกระบบการศึกษา ซึ่ง สำนักงาน กศน. ได้แก้ไขปัญหาโดยใช้วิธี “เคาะประตูบ้าน รุกถึงที่ ลุยถึงถิ่น” ซึ่งจากการสำรวจพบว่า มีเป้าหมายที่ต้องนำเข้าสู่ระบบการศึกษา 510,768 คน ได้ดำเนินการนำกลับเข้าสู่การศึกษาแล้ว 93,333 คน รวมถึงได้ช่วยเหลือ แนะแนว เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน •โครงการพัฒนาครู กศน. ต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ได้อบรมทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับครู กศน. และบุคลากร จำนวน 100 คน โดยใช้หลักสูตรและวิทยากรของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ครู กศน.และบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน •โครงการสร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชนระดับตำบล/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนมีช่องทางในการค้าขาย โดยต่อยอดจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนที่ทำให้มีรายได้ เช่น สิ่งทอ จักสาน รวมทั้งของที่ระลึกจากท้องถิ่น •โครงการสร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชนระดับตำบล ปัจจุบันขยายผลลงสู่ประชาชนประมาณ 2 แสนกว่าคน โดยใช้เครือข่ายของอินเทอร์เน็ตประชารัฐ และอินเทอร์เน็ตของ กศน.ตำบล ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ •โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,081,580 คน แบ่งเป็น ปฐมวัย 29 คน ประถมศึกษา 79,197 คน ม.ต้น 419,150 คน ม.ปลาย 574,299 คน และระดับ ปวช. 8,905คน •โครงการบริหารจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 13,658 คน ภายใต้โครงการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 9,833 คน โครงการฝึกอาชีพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบสจำนวน 160 คน โครงการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,045 คน โครงการลูกเสือ กศน.ชายแดนภาคใต้ จำนวน 2,620 คน นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการ กช. กล่าวว่า สช. มีภารกิจสำคัญ คือ “การจัดการศึกษาเอกชนของประเทศ การดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุน การจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาเอกชน” มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 1,163 คน ได้รับงบประมาณประจำปี 2562 จำนวน 34,857.7687 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินงานโครงการสำคัญ ได้แก่ •เงินอุดหนุนการศึกษาเอกชน – เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อ.1 – ป.6 จำนวน 3,541 โรงเรียน นักเรียน จำนวน 2,063,168 คน) – เงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน (อ.1 – ป.6 จำนวน 466,979 คน) – เงินอุดหนุนค่าอาหารเสริม (อ.1 – ป.6 จำนวน 1,590,010 คน) – เงินอุดหนุนสำหรับนักเรียนพิการ (จำนวน 4,065 คน) – เงินอุดหนุนค่าก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนการกุศล (จำนวน 9 โรงเรียน) – เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนกรณีพิเศษ (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย, โรงเรียนวังไกลกังวล 1,500,000 บาท/ปี) •พัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ – การพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตรสำหรับโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ, หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ, หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด) – พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทย (พัฒนาประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทย นักเรียนชั้น ป.1-3 สอบผ่านถึงร้อยละ 99.55 (จำนวน 44,439 คน) – การบริหารงบประมาณของโรงเรียนเอกชน (สร้างวัฒนธรรมความโปร่งใส, มีระบบตรวจสอบประจำทุกเดือน, เรียกเงินคืนจากการเบิกผิดพลาด จำนวน 115.73 ล้านบาท) – เงินอุดหนุนพัฒนาการศึกษา (เงินอุดหนุนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำนวน 2,111 ศูนย์, เงินอุดหนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 382 แห่ง, เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญสำหรับครูผู้สอนศาสนา 166 แห่ง, เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาอย่างเดียว 21 แห่ง) •ยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา – พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนปฐมวัย (จำนวน 3,227 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 566,181 คน) – STEM Education (โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ สช. จำนวน 330 โรงเรียน) – พัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนเอกชน โดยเครือข่ายในส่วนภูมิภาค (จำนวน 33,998 คน) – ส่งเสริมการประกันคุณภาพ (จำนวน 7,267 โรงเรียน) – พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและวินัย (ลูกเสือ) (ใช้กิจกรรมลูกเสือปลูกฝังวินัยและคุณธรรม, พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ 8 รุ่น จำนวน 800 คน, ปรับปรุงงานธุรการลูกเสือระดับโรงเรียน) – โรงเรียนเอกชนต้นแบบ EEC (พัฒนาโรงเรียนสัตหีบให้เป็นโรงเรียนเอกชนต้นแบบในพื้นที่ EEC, พัฒนาหลักสูตรต้นแบบและคู่มือ, พัฒนาระบบ Career Path) •ส่งเสริมการสอนวิชาชีพในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จำนวน 3,937แห่ง นักเรียน 653,809 คน •พัฒนาระบบการบริหารจัดการของสำนักงาน (ปรับปรุงกฎหมาย, พัฒนาระบบศูนย์กลางบูรณาการข้อมูล (Big data), ลดขั้นตอนการให้บริการ) นางสาวศกลวรรณ เปลี่ยนขำ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ นำเสนอภารกิจที่สำคัญของ สลช. คือ “พัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคม เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ” โดยในปีงบประมาณนี้ ได้ดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ •งานชุมนุมลูกเสือวิสามัญแห่งชาติ วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ •งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก •การปรับปรุงหลักสูตรผู้กำกับลูกเสือ •การปรับโครงสร้างและอัตรากำลัง และยกระดับบุคลากรของ สลช. โดยเน้นสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากรเป็นอันดับแรก นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ กล่าวว่า การรับฟังและหารือครั้งแรกร่วมกับ 3 หน่วยงาน เป็นการรับฟังข้อเสนอต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของงบประมาณ ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ปัญหาด้านบุคลากรของหน่วยงานซึ่ง รมว.ศธ. (นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ) มอบหมายงานให้ดูแลและรับผิดชอบ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ยังมีบุคลากรครูอัตราจ้างและบุคลากรทางการศึกษาที่ทำงานมาหลายสิบปี แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ จะเร่งหาแนวทางผลักดันให้ได้เข้ารับราชการให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินการในเรื่องใด ๆ ต้องให้มีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นจะสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอให้ รมว.ศธ.รับทราบ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังต่อไป อานนท์ วิชานนท์, อิชยา กัปปา / สรุป บัลลังก์ โรหิตเสถียร / เรียบเรียง ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า / ถ่ายภาพ ที่มา : https://moe360.blog/2019/07/22/รมช-ศธ-กนกวรรณ-วิลาวัลย์/

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

อาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400

0 2354 5730-40 ต่อ 414-415

0 2354 5741

etv_cet@hotmail.com

Centre for Educational Technology

Building Sri-Ayudhaya st., Rajatavee distric Bangkok 10400, THAILAND

66 2354-5730-40 ext. 414-415

66 2354 5741

etv_cet@hotmail.com

©2018 etvthai.tv.All rights reserved